ชื่อไทย : เอื้องเงินหลวง
ชื่อท้องถิ่น : เอื้องขี้ผึ้ง(ใต้)/ เอื้องตาเหิน(กลาง,เชียงใหม่) 
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium formosum Roxb. ex Lindl.
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย : กล้วยไม้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยเป็นแท่งกลมอวบ ยาว 20-40 ซม. ปลายเรียวเล็กน้อย เส้นผ่านศูนย์กลางต้น 1.5 – 2.5 ซม. ผิวมีขนสั้น สีดำ
ใบ :
รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 7-10 ซม. แผ่นใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ปลายหยักเว้าตื้น เรียงตัวถี่ใกล้ยอด
ดอก :
ออกเป็นช่อสั้น ใกล้ปลายยอดมี 2-5 ดอก สีขาว กลีบเลี้ยงรูปหอกแกมรี ปลายกลีบแหลม กลีบดอกรูปไข่กลับ ปลายกลีบมน กลีบปากสีขาว โคนกึ่งกลางกลีบเป็นแถบสีเหลือง ขนาดบานกว้าง 5-6 ซม. มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานทนประมาณ 3 – 4 สัปดาห์
ผล :
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : กันยายน สิ้นสุดระยะติดดอก : ธันวาคม
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา พบขึ้นตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันตก และภาคใต้

ถิ่นกำเนิด

การกระจายพันธุ์ อินเดีย เนปาล สิกขิม พม่า และเวียดนาม

การใช้งานด้านภูมิทัศน์

การปลูกและการขยายพันธุ์ :

เป็นกล้วยไม้รากอากาศ ชอบอากาศชื้นแยกลำ

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :
แหล่งอ้างอิง : [1] อบฉันท์ ไทยทอง. 2552. กล้วยไม้เมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 16. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร. [2] องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2551. กล้วยไม้ไทย 1. Thai Native Orchids 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก. วนิดาการพิมพ์. เชียงใหม่. [3] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
กล้วยไม้
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : ดอกไม้ประจำจังหวัดระนอง
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554